การวิ่งและวิทยาศาสตร์ 1

การวิ่งและวิทยาศาสตร์การกีฬา

การวิ่งถือเป็นกีฬาชนิดหนึ่งผู้วิ่งควรมีความรู้ทางวิทยาศาสตร์การกีฬาด้วย

โอลิมปิกกับวิทยาศาสตร์การกีฬา

แพทย์ประจำทีมโอลิมปิกรัสเซีย  นายแพทย์เอ โรก๊อชกิ้น ปี 1976 กล่าวว่การแข่งขันโอลิมปิกครั้งต่อ ๆ ไปประเทศใดที่มีความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์การกีฬาจะมีนักกีฬาที่แข็งแรง

ทีมเยอรมันตะวันออกได้พิสูจน์แล้วว่าถึงแม้จะเป็นประเทศเล็กๆมีพลเมืองนิดเดียว  แต่เยอรมันตะวันออกสามารถคว้าเหรียญทองนำหน้าในกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวที่ผ่านมา ด้วยความช่วยเหลือของวิทยาศาสตร์การกีฬานั่นเอง

หลักของการออกกำลัง

หัวใจเราแบ่งได้เป็น4ห้อง แต่หัวใจของการออกกำลัง แบ่งได้5ห้อง

  1. ความเจาะจงในการเล่นกีฬาต้องฝึกแต่ในกีฬานั้น ๆ เพียงอย่างเดียว
  2. ฝึกหนักและเบาแบบสลับวัน เพื่อให้ร่างกายได้มีเวลาซ่อมแซมบ้าง
  3. การเทรนหรือการฝึก คือ การให้ร่างกายได้ทำงานโดยหลักได้อย่างสม่ำเสมอ
  4. ฝึกสร้างรากฐานและความสมบูรณ์ ควรเริ่มด้วยขั้นก่อน แล้วค่อยเพิ่มขึ้นไปจนได้ความสมบูรณ์สุดยอด
  5. เมื่อไม่ได้ออกกำลังกายต่อเนื่องจะมีการเสื่อมสภาพของร่างกาย

รายละเอียดปลีกย่อย

เจาะจงชนิดกีฬา สิ่งสำคัญในการฝึกฝน ต้องอาศัย หลัก 3 อย่าง ประกอบไปดว้ย

  • ฝึกความสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อมัดต่าง ๆอย่างสม่ำเสมอ
  • ฝึกความเร็วให้คงที่
  • ฝึกความแข็งแรงให้สม่ำเสมอ
  • ฝึกความสัมพันธ์ของร่างกาย

การทำงานของกล้ามเนื้อควรสัมพันธ์กัน ไม่ควรจำกัดอยู่แต่กล้ามเนื้อที่ใช้ในการออกแรง เช่น แขนหรือขา แต่ควรรวมไปถึงกล้ามเนื้อที่ใช้ในการทรงตัว คือ ร่างกายท่อนบนและการหายใจ สำคัญที่สุด คือดวงตาของเรา

คู่ของกล้ามเนื้อ

กล้ามเนื้อคนเรามีเป็นคู่เวลามัดหนึ่งหดตัวคือทำงานการที่กล้ามเนื้อมัดหนึ่งหดตัวแล้วมัดคู่กัน  หรือหดพร้อมไปด้วย ผลลัพธ์ที่ได้อย่างน้อย ๆ จะเกิดอาการเคล็ด หรือยอก

สมอง

สิ่งมหัศจรรย์อันดับของร่างกายมนุษย์คือสมอง การเคลื่อนไหวใด ๆ ต้องอยู่ในความควบคุมของสมอง การวิ่งแต่ละก้าว การเดิน ยกแขนและขาสมองมีหน้าที่ทำการควบคุมโดยการสั่งงานให้กล้ามเนื้อทั้ง 500 มัดในร่างกายทำงานแบบสัมพันธ์กัน

การจะมีความสัมพันธ์ที่ดีได้นั้นอยู่ที่การฝึกฝน ความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นได้ 2 ทางคือการฝึกฝนเท่านั้น

1.1 ทำให้สมองสั่งงานได้เร็วขึ้นอย่างที่เราต้องการ

1.2 สมองส่งคำสั่งที่จำเพาะเจาะจงไปยังกล้ามเนื้อ ทำให้การเคลื่อนไหวเป็นไปอย่างถูกต้องตามที่เราสั่ง

 การฝึกความเร็ว

บางคนคิดว่าเวลาฝึกวิ่งควรวิ่งช้า ๆ ค่อยไปวิ่งเร็วในวันแข่งขัน

การฝึกความแข็งแรง

เราจะแข็งแรงได้ควรเริ่มจากการได้ให้กล้ามเนื้อออกแรงต้านทานนํ้าหนัก เช่น การยกนํ้าหนักดัมบ์เบลหรือบาร์เบล อย่างเช่นนักเพาะกาย แต่เราไม่ต้องการให้กล้ามเนื้อใหญ่โตแบบนักเพาะกาย

ฝึกแบบวันหนักและวันเบา

ในความเป็นจริงร่างกายเราต้องการทั้งวันที่ถูกฝึกอย่างหนักและวันที่ฝึกแบบเบาๆ

วันฝึกหนักคือ วันที่เราวิ่งเกือบสุดกำลังจนหอบเหนื่อยแต่ไม่หอบแฮ่กหรือเหนื่อยมากจนพูดไม่ออกหรือจะเป็นลม นักวิ่งที่ถูกฝึกมาอย่างดีอาจวิ่งจนชีพจรเต้นกว่าร้อยละ 80 ของอัตราชีพจรสูงสุดได้เป็นเวลานาน ๆ ในวันที่เราฝึกหนัก

จะทำให้ร่างกายเรามีการตอบสนองต่อการฝึกหนัก งานนี้ไม่ขึ้นอยู่กับความนานแต่สำคัญที่ความหนัก อย่างไรก็ดีต้องมีกำหนดเวลาอย่างตํ่าที่เราออกกำลัง โดยปกติไม่ควรน้อยกว่า 20 นาที

วันฝึกเบา วันที่เราออกกำลังแต่เบา ๆ เพื่อให้กล้ามเนื้อได้มีเวลาซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ

การฝึกเพื่อสร้างความสมบูรณ์สุดยอด

เพื่อทำให้ถึงความสมบูรณ์สุดยอด ฉะนั้น ถ้าฝึกความแข็งแรงได้นานเท่าใด โอกาสจะได้ความสมบูรณ์ก็มีเพิ่มขึ้น

การฝึกสร้างรากฐานแล้วจึงลดปริมาณ แล้วหันมาเน้นด้านคุณภาพ  เช่น จากที่เคยวิ่งวันละ 10 กิโลเมตร ในตอนสร้างรากฐาน อาจลดงานเป็นวันละ 6 กิโลเมตร แต่วิ่งให้ในเวลาที่เร็วขึ้น

การเสื่อมสภาพ

การหยุดวิ่งแค่ 3 อาทิตย์  ทุกสิ่งที่ได้มาจะพาหายไปหมดไม่เหลือ เพียงแค่หยุดออกกำลังกาย2-3สัปดาห์  ร่างกายก็สามารถเสื่อมสภาพได้ เมื่อร่างกายเราเริ่มเสื่อมความสามารถจะรู้ได้อย่างไร

  • คือความแข็งแรงลดลงและสถิติที่ลดลง
  • เหนื่อยง่าย

เมื่อไม่ได้ออกกำลัง ใยกล้ามเนื้อจะมีขนาดเล็กลงและเกิดความอ่อนแอในมัดกล้ามนั้น เมื่อไปออกกำลังกายจะเกิดอาการปวดเมื่อยอยู่นาน เพราะเสียเวลาในการซ่อมแซมใหม่นั่นเอง

เราจึงควรใส่ใจในเรื่องวิทยาศาสตร์การกีฬาไว้บ้าง เพื่อจะนำไปประยุกต์ใช้ได้ในชีวิตการวิ่งถ้ารู้จริงแล้วมีประโยชน์ เราจะฝึกได้นานโดยไม่เกิดโทษต่อร่างกายได้นั่นเองสล็อต เว็บตรงไม่ผ่านเอเย่นต์  เล่นพนันออนไลน์แบบง่าย ๆ ทำกำไรได้จริง มีฟรีสปิน

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *